Squid Game เป็นออริจินัลซีรีส์ของ Netflix ที่เป็นผลงานการเขียนบทและกำกับของ พีดีฮวังดงฮยอก ซึ่งถูกปล่อยสตรีมมิ่งมาตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน 2021 และกลายเป็นซีรีส์ที่ทำลายสถิติถล่มทลายทั้งยอดผู้ชมทั่วโลก ความโด่งดังของนักแสดงที่ฉุดไม่อยู่ และความนิยมในหลาย ๆ อย่างในซีรีส์จนเกิดกระแสที่เกินความคาดหมาย
จนถึงตอนนี้กระแสของ Squid Game ก็ยังไม่ลดน้อยลงไปเลย ด้วยความที่ไม่ใช่ซีรีส์ที่แค่เน้นมันส์ แต่จริง ๆ แล้ว แต่ละสิ่งในเรื่อง ล้วนเป็นสัญญะที่เปี่ยมความหมาย งานละเอียดมาก องค์ประกอบศิลป์สัมพันธ์กับแมสเสจ เป็นซีรีส์ที่สอดแทรกประเด็นต่าง ๆ ในสังคมได้อย่างน่าทึ่ง เราจึงอยากรวมเกร็ดซีรีส์ และความหมายของสัญญะที่แฝงไว้ใน Squid Game ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อนมาฝากกัน
001 คอนเซปต์ห้องนอนที่เหมือนคลังสินค้า
ผู้กำกับบอกว่า เพื่อสื่อถึงผู้เข้าแข่งขันที่ถูกลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ เตียงนอนเป็นชั้น ๆ เปรียบดั่งวัตถุที่ถูกวางบนชั้นของคลังสินค้า สะท้อนภาพความเป็นของเล่นคนรวยอย่างสุดหดหู่ใจ
002 ตัวละครคือตัวแทนมนุษย์ผู้พ่ายแพ้ต่อสังคมทุนนิยม
ซีรีส์เล่าถึงคนในสังคมผ่านตัวละครเช่น ชนชั้นแรงงานที่โดนนายจ้างเอาเปรียบ ผู้อพยพที่เป็นเหยื่อภัยการเมือง แรงงานข้ามชาติที่ถูกกดขี่ คนหน้าที่การงานดีแต่หนี้สินล้นตัว ซึ่งการสร้างตัวละครโดยอิงจากสังคมจริง ทำให้ Squid Game เข้าถึงคนดู
003 บอกเล่าอารมณ์มนุษย์ผ่านการเซ็ตฉาก
เช่น เกมลูกแก้ว เป็นเกมที่นำเสนอ
“ความจริงใจที่ซื่อสัตย์ และความจอมปลอมของมนุษย์”
ซีรีส์จึงเซ็ตฉากหมู่บ้าน ให้มีความก้ำกึ่งระหว่าง จริงและปลอม
บ้านเรือนที่เสมือนจริง และภาพท้องฟ้าปลอม ๆ
เป็นฉากที่ถูกเซ็ตขึ้น เพื่อบอกเล่าแมสเสจของเกม
004 จำลองสังคมทุนนิยมที่ต้องตะเกียกตะกาย ผ่านเกมการแข่งขัน
ซีรีส์มีเจตนาเสียดสีสังคมทุนนิยม เพราะโลกทุกวันนี้ก็เหมือนอยู่ในเกมเอาชีวิตรอด ผู้กำกับจงใจให้เห็นถึงความย้อนแย้งของสังคมทุนนิยม ที่เหมือนจะดี แต่มองอีกมุม ก็เป็นระบบที่นำพามนุษย์ไปสู่การแข่งขันแสนโหดร้าย
005 ฉาก ซังอู ถอดสูทตอนโทรหาแม่ และใส่สูทตอนจะรมควันฆ่าตัวตาย
ตรงนี้ก็มีนัยยะ เพราะสื่อถึงนิสัยของซังอูที่ทะนงในความสมบูรณ์แบบและจะไม่เปิดเผยมุมอ่อนแอต่อหน้าใคร และพัคแฮซูผู้รับบทนี้กล่าวเพิ่มว่า ซังอูคิดว่าตนเองเป็นคนที่โชคร้าย การใส่สูทจึงเหมือนการประชดประชันโลกใบนี้
006 การฆาตกรรมในสนามเด็กเล่น
ในวัยเด็ก สนามเด็กเล่นเป็นที่ที่เต็มไปด้วยมิตรภาพ น้ำใจแสนบริสุทธิ์
แต่ตอนนี้สถานที่ที่ไร้้เดียงสานี้ กลับเต็มไปด้วยการฆ่าฟันของผู้ใหญ่ที่สิ้นหวังในชีวิต
ที่ต้องมาเอาตัวรอดเสี่ยงตาย ดิ้นรนเพื่อเอาชนะเกมของเด็ก เป็นความคอนทราสที่สื่อความหมาย
007 เสียดสีปัญหาความเหลื่อมล้ำ
ผู้คุมเกมพูดว่าต้องให้ความเท่าเทียมกับผู้เล่น แต่ตราบใดที่มนุษย์อยู่รวมกัน ความเหลื่อมล้ำก็เกิดอยู่ดี เพราะจะมีคนที่ได้เปรียบคนอื่นในทุกสังคม ซึ่งซีรีส์จงใจล้อเลียนสังคมมนุษย์ที่เต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำ ไม่ว่าอยู่ที่ไหน ก็มีความเหลื่อมล้ำ
008 ความสูงต่ำ อีกหนึ่งสัญญะที่สะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำของชนชั้นในสังคมที่แสนหดหู่
คนรวยอยู่ที่สูง คนจนอยู่เบื้องล่าง
ตัวอย่าง เจ้าของเกมนอนป่วยบนตึกหรูชั้น 7 ส่วนคนเร่ร่อนนอนป่วยอยู่ด้านล่างริมฟุตบาท
ทั้งสองกำลังป่วยหนักเหมือนกัน
แต่ทว่าสิ่งที่พวกเค้าต่างกันคือชนชั้น
009 การทำงานของเจ้าหน้าที่คุมเกม ได้แรงบันดาลใจมาจาก “การทำงานของมด”
เพราะมดในแต่ละรัง
จะมีการแบ่งหน้าที่อย่างมีระบบ
คนใส่ฮู้ดสีชมพูจึงเปรียบดั่งมด โดยแบ่งหน้าที่ดังนี้ หน้ากากสี่เหลี่ยม เป็นผู้สั่งการ
หน้ากากสามเหลี่ยมเป็นกลุ่มติดอาวุธ และหน้ากากวงกลมมีหน้าที่เป็นคนงาน
010 จิกกัดสังคมปิตาธิปไตยที่คุณค่าของเพศไม่เท่ากัน
สังคมเกาหลี หรือในหลายสังคม ชายจะเป็นใหญ่ เห็นค่าผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ซึ่งซีรีส์บอกเล่าสิ่งที่ผู้หญิงหลายคนต้องประสบผ่านตัวละครผู้เข้าแข่งขันหญิง ที่ในเรื่องบ่อยครั้งจะถูกมองข้ามอย่างไร้ความหมาย เสียเปรียบในทุกด้าน
011 บันไดวกวน ทางเดินที่นำผู้เข้าแข่งขันไปสู่เกม
ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะเอสเชอร์ ศิลปะที่น่าพิศวง ซึ่งการที่ผู้กำกับสร้างให้ใหญ่โตบรรจุคนได้เยอะ ๆ เพื่อจะได้เกิดความรู้สึกว่างเปล่าโดดเดี่ยว ตอนที่ผู้เข้าแข่งขันค่อยๆหายไป จนเหลือเพียงไม่กี่คน
012 โลงศพที่ตกแต่งคล้ายกล่องของขวัญ สะท้อนมุมมองของผู้สร้างเกมส์
Art director บอกว่าผู้สร้างเกมคิดว่าตนเป็นพระเจ้า การมอบโลงศพ จึงเปรียบดั่งการมอบของขวัญให้ผู้เล่นที่เสียชีวิต ดังนั้นโลงศพจึงถูกตกแต่งให้คล้ายกับกล่องของขวัญใบใหญ่ เป็นความเมตตาที่เปี่ยมไปด้วยความโหดร้าย
013 ความแตกต่างทางความคิดของตัวละคร สื่อถึงความหลากหลายของมนุษย์
ซึ่งเป็นแมสเสจที่ผู้กำกับนำเสนอผ่านกีฮุนและซังอู ซังอูคิดว่า เขาผ่านมาได้ เพราะตนเอง ชนะเพราะทำให้คนอื่นแพ้ ในขณะที่กีฮุนคิดตรงกันข้าม กีฮุนมองว่าเขาผ่านมาได้เพราะผู้อื่น เพราะถ้าไม่มีคนแพ้ ก็จะไม่มีคนชนะ
014 องค์ประกอบซีรีส์ที่อบอวลไปด้วยการรำลึกถึงวัยเด็ก
นอกจากเกมจะเป็นการละเล่นสมัยเด็กแล้ว ตุ๊กตาในเกม AEIOU ก็ได้แรงบันดาลใจมาจาก “ยองฮี” ตัวการ์ตูนในตำราเรียนของเด็กเกาหลีชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 (ผลงานการวาดของศิลปินคิมแทฮยอง-김태형)
จองโฮยอน คนที่รับบทแซบยอก บอกว่า ยองฮีจะมีคู่หูเป็นผู้ชายคือชอลซู (คล้ายตำราเรียนของไทยอย่าง มานี กับ ปิติ)
015 ผู้กำกับบอกว่า จุดประสงค์แท้จริงของซีรีส์ คือต้องการพูดถึง ‘ผู้คน’ ไม่ใช่เกม
ผู้กำกับจึงจงใจใช้เกมเด็กที่เข้าใจง่ายและเข้าถึงทุกคน เพื่อให้ผู้ชมโฟกัสที่ธรรมชาติมนุษย์ในตัวละครมากกว่าความซับซ้อนของเกม
เกมเป็นแค่ตัวกระตุ้นให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมเท่านั้น
016 เหตุผลที่สร้างสะพานกระจก ให้แต่ละแผ่นห่างกัน จนเกิดช่องว่างกว้าง ๆ
เพราะต้องการให้เกิดความรู้สึกระหว่างความเป็นและความตาย ให้รู้สึกถึงความอันตราย
Art Director บอกว่าต้องคำนึงความปลอดภัยของนักแสดง และขณะเดียวกัน ก็ต้องออกแบบฉากที่สามารถทำให้
นักแสดงถ่ายทอดอารมณ์ออกมาได้ด้วย
017 รูปทรง วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมบนหน้ากาก มาจากสัญลักษณ์ของเกมปลาหมึกเกมพื้นบ้านของเกาหลี
และสัญลักษณ์นี้ก็ถูกใช้เขียนชื่อเรื่อง Squid Game ทั้งภาษาอังกฤษและเกาหลี 오징어 게임 (อ่านว่า โอจิงงอ เกม)
018 ส่วนเหตุผลที่เป็นเกมปลาหมึก
ผู้กำกับบอกเพราะเป็นเกมเด็กที่ใช้พละกำลังต่อสู้มากสุด ซึ่งสะท้อนสังคมปัจจุบันที่ต้องต่อสู้ดิ้นรนได้ดี
ตอนเด็กทุกคนเล่นเกมนี้ด้วยความไร้เดียงสา มีน้ำใจ แต่ตอนเมื่อกลายเป็นผู้ใหญ่ ความสิ้นหวังทำให้พวกเขาต้องต่อสู้กันแบบเอาเป็นเอาตายเพื่อชนะ
019 เพลงในซีรีส์ถูกบรรเลงด้วย “เครื่องดนตรีที่เคยเรียนในวิชาดนตรีตอนเด็ก ๆ”
เพลงในซีรีส์ถูกบรรเลงด้วย
“เครื่องดนตรีที่เคยเรียนในวิชาดนตรีตอนเด็กๆ”เนื่องจากผู้กำกับอยากให้เพลงเชื่อมโยงกับความทรงจำสมัยเด็ก เครื่องดนตรีที่ใช้เล่นจึงเต็มไปด้วยกลิ่นอายของความสดใสในวัยเยาว์ และเพลงที่ใช้จึงเป็นเพลงเก่าในอดีต#SquidGame pic.twitter.com/qdM659j1bN
— สมุดบันทึกหนังซีรีส์ + กีฬา (@Rhythm_ndBlue) October 19, 2021
020 ฉากกีฮุนนอนกอดศพแม่เงียบ ๆ และพูดว่าผมมีเงินแล้วนะ เป็นฉากที่สื่อว่า
“บางครั้ง เงินก็ไม่ใช่คำตอบของความสุข”
อดีตกีฮุนเห็นเงินเป็นพระเจ้า แต่เมื่อแม่ป่วย เขาต้องไปหาเงินแบบมือเปื้อนเลือดเพื่อรักษาแม่
แต่เมื่อกลับมา แม่ก็จากไปแล้ว เงินที่เปื้อนเลือดจึงไร้ความหมาย
021 อีกตัวอย่างของการออกแบบฉากให้สอดคล้องกับอารมณ์ตัวละคร คือการเซ็ตฉากห้องสีขาว
Art Director บอกว่า เพื่อบ่งบอกถึงความไม่รู้ อารมณ์สับสนว่างเปล่า คาดเดาไม่ได้
สังเกตตอนเจ้าหน้าที่แจ้งผู้เข้าแข่งขันให้จับกลุ่ม ก่อนจะเฉลยว่าเล่นเกมอะไร ตัวละครจะอยู่ในห้องสีขาวทุกครั้ง
022 การให้ความสำคัญกับความพ่ายแพ้ คือ อีกหนึ่งหัวใจสำคัญของเรื่องนี้
เรื่องอื่นจะโฟกัสไปที่ฮีโร่ที่กอบกู้ชัยชนะ แต่เรื่องนี้จะบอกเล่าเรื่องราวของผู้พ่ายแพ้ ทั้งผู้แพ้ในสังคมและผู้แพ้ในเกม
“เพราะถ้าไม่มีผู้พ่ายแพ้ ก็ไม่มีผู้ชนะ”
023 เหตุผลที่ใช้เกมมูกุงฮวา หรือ AEIOU
ผู้กำกับบอกว่า ที่ใช้เกมมูกุงฮวา หรือ AEIOU เพื่ออยากให้ภาพออกมาเหมือนคนทั้ง 456 คนกำลังเต้นรำ เหมือนกำลังดู K-pop เคลื่อนไหวและหยุดๆ พร้อมเพรียงกัน
เห็นมั้ยคะ มีเพลง Fly me to the moon บรรเลงด้วย ให้เหมือนดูคนเต้น
คือจงใจให้เป็นภาพที่ทั้งสวยงาม และ โหดร้าย น่ากลัว #SquidGame pic.twitter.com/ZWlaUGDF41
— สมุดบันทึกหนังซีรีส์ + กีฬา (@Rhythm_ndBlue) October 19, 2021
024 เดิมไม่มีบทจุนโฮ แต่ถูกเพิ่มเข้ามา เพื่อทำหน้าที่พาผู้ชมไปสำรวจจิตใจของเหล่าผู้คุมเกมส์
เผยให้เห็นโลกอีกด้าน พาไปดูแก่นแท้ของเกม ผ่านสายตามนุษย์ปุถุชนของจุนโฮ คือเบื้องหน้าฝ่ายคุมเกม ปกปิดใบหน้า ทำหน้าที่ราวหุ่นยนต์ แต่จริงๆพวกเขาก็คือมนุษย์ที่มี ความโลภ และความกลัว
025 ผนังในห้องนอน ซ่อนคำใบ้เกมที่แข่งขัน
เมื่อผู้เล่นถูกกำจัดออกไปเรื่อยๆ เตียงนอนก็จะถูกขนย้ายออก ซึ่งจะทำให้เห็นสัญลักษณ์ภาพบนฝาผนังว่า แท้จริงแล้ว มีรูปเกมที่ใช้แข่งขันซ่อนไว้อยู่
026 ประวัติขนมทัลโกนา
เริ่มจากการที่ทหารสหรัฐเอาลูกกวาดแบบตะวันตกมาแจกเด็กๆเกาหลี แต่ก็ไม่เพียงพอต่อเด็ก เด็กก็อยากกินอีก
พ่อแม่ชาวเกาหลีที่ไม่มีเงินซื้อขนมให้ลูกๆ จึงได้ทำขนมเอง โดยพิมพ์ลวดลายให้คล้ายขนมตะวันตก
ซึ่งต่อมาขนมนี้ก็กลายเป็นขนมยอดฮิตที่ถูกวางขายหน้าโรงเรียน
027 “นรกที่แท้จริง”
Ep2 เป็นตอนที่ชอบมาก อ่านชื่อตอน ก็คิดว่าหมายถึงเกมที่โหดร้ายดั่งนรก แต่ไม่ใช่เลย
นรกที่แท้จริง สำหรับผู้เข้าแข่งขันคือ โลกที่เขาอาศัยนั้นล่ะ
คุณตาเลือกหยุดเกม แล้วให้ทุกคนกลับไปเจอนรกในชีวิตจริง
และให้คิดด้วยตนเองว่า ที่ไหนคือนรกจริง ๆ สำหรับพวกเขา?
028 ทำไมกีฮุนจึงโกรธและไม่ใช้เงิน
เราคิดว่า เพราะความเข้มแข็งของจิตใจมนุษย์มันต่างกันค่ะ
บางคน สิ่งที่เจอมันทำร้ายจิตใจมาก เห็นคนตายนับร้อย ต้องฆ่าคน
และที่กีฮุนเข้าแข่งขันคือเพื่อหาเงินรักษาแม่ แต่เมื่อพบว่าแม่ตายแล้ว
เงินจึงไร้ค่า ทุกสิ่งที่เจอ มันเจ็บปวดจนใจรับไม่ไหว
029 ผมสีแดงของกีฮุน ผู้กำกับบอกว่า
“แฝงนัยยะของความโกรธแค้น” และเพื่อสื่อว่า กีฮุนเปลี่ยนไปแล้ว
จะไม่กลับไปเป็นคนเดิมอีกต่อไป กีฮุนจึงทำอะไรที่ไม่เคยทำ เช่น การย้อมผมแดง
ซึ่งสิ่งที่ทำให้กีฮุนโกรธแค้นจนเปลี่ยนไป คือการได้รู้ความจริงเกี่ยวกับเจ้าของเกม
และแก่นแท้ของเกม
030 ทำไมกลับไปแก้แค้น
วิเคราะห์ว่าเพราะ
สามเหลี่ยมที่หัวชี้ไปทางขวาความโกรธ + จิตใจอ่อนไหว
สามเหลี่ยมที่หัวชี้ไปทางขวาแม้ไม่ใช่คนดี 100%แต่ก็มีสำนึกดี
สามเหลี่ยมที่หัวชี้ไปทางขวาพื้นฐานกีฮุนชอบเข้าไปยุ่งกับทุกเรื่องอยู่แล้ว ชอบช่วยเหลือคนอื่น จนบางครั้งลืมคนใกล้ตัว ดูจากตอนเลือกช่วยเพื่อน ตอนเมียคลอดลูก
เค้าเขียนบทโดยยึดนิสัยกีฮุนเป็นหลัก
031 กีฮุน = มนุษย์สีเทา ไม่ได้ขาวบริสุทธิ์ และไม่ได้ดำสนิท
มีทั้งความโลภ ขี้โกง เห็นแก่ตัว อยากเอาตัวรอด กลัวตาย แต่ขณะเดียวกันก็มีความเป็นคนดี มีสำนึกดีในตัว
เป็นคนที่มีทั้งดีและแย่
ผสมกันเหมือนคนปกติ
อีจองแจบอกว่า เค้าพยายามถ่ายทอดความเป็นมนุษย์ของกีฮุนให้มากที่สุด
และนี่คือความเก่งของเกาหลี ผูกปมดราม่า เล่นกับจิตใจเก่งมาก ผู้กำกับบอกว่า เค้าผูกสัมพันธ์ของแต่ละตัวละครให้แน่น และหลังจากนั้น ก็ตัดพวกเขาให้ขาดกัน โดยการใส่สถานการณ์จนมุมเข้าไป ถือเป็นการเล่นกับจิตใจ สะท้อนตัวตนมนุษย์ในเวลาจนมุม และถามคนดูว่า “ถ้าเป็นคุณจะทำอย่างไร?”
ร่วมถกประเด็นที่คุณสงสัยคาใจในซีรีส์ Squid Game และติดตามนักเขียน Rhythm_ndblue ได้ที่ ลิงค์ทวิตเตอร์ นี้ได้เลยค่ะ